ความรู้ โช้คอัพ ( Shock Absorber )
ReadyPlanet.com
dot
bulletตะกร้าสินค้า NEW..!!
bulletแจ้งชำระเงิน NEW ..!!
bulletสาระน่ารู้ บริจาคโลหิต
bulletMP3 Radio Spot
dot
SELECT LANGUAGE
dot
bulletEnglish
bulletJapanese
bulletChinese
bulletVietnamese
bulletIndonesian
dot
ข้อมูล รถจักรยานยนต์ ฮอนด้า
dot
bulletHONDA ECO STICKER
bulletHONDA CATALOG แค็ตตาล็อก
bulletHONDA รหัส ชุดสี สติ๊กเกอร์
bulletHONDA คู่มือผู้ใช้รถ ทุกรุ่น
bulletHONDA คู่มืออบรมรถใหม่
bulletHONDA ราคาพิเศษ
bulletHONDA รีวิว และ ทดสอบ
bulletHONDA วิธีดู รุ่นใหม่ รุ่นเก่า
dot
ฮอนด้า รุ่นที่ผลิต ขาย ณ.ปัจจุบัน
dot
bullet30/10/2024 GIORNO+
bullet30/10/2024 NEW LEAD 125
bullet25/09/2024 ADV 160
bullet01/02/2024 PCX160 e-HEV
bullet01/02/2024 NEW FORZA 350
bullet01/02/2024 ADV 350
bullet01/02/2024 CLICK 160 150
bullet04/01/2024 NEW WAVE125 I
bullet12/12/2023 MSX125 GROM
bullet28/11/2023 NEW REBEL 300
bullet22/11/2023 CB150R
bullet13/11/2023 CBR150R
bullet02/11/2023 SCOOPY
bullet23/09/2023 SUPER CUB NEW
bullet25/05/2023 CBR250RR SP
bullet08/04/2023 WAVE110 I
bullet15/03/2023 CL300
bullet18/10/2022 CRF300L 2022
bullet11/11/2022 CLICK125 I
bullet09/08/2022 CB300R
bullet0X/0X/202X BENLY e:
bullet24/03/2021 CT125 สีเขียวใหม่
bullet11/11/2020 CRF300 RALLY
bullet08/05/2019 ZOOMER X
bullet16/10/2017 CBR300R
bulletMOTOR SHOW 2021
bulletHONDA BIG BIKE
bulletรถมือสอง ฮอนด้า เกรด A
bulletรถมือสอง ฮอนด้า ราคากลาง
bulletService บริการหลังการขาย
bulletจำหน่าย ประกัน พรบ.
dot
รถแต่ง ตกแต่ง ฮอนด้า
dot
bulletรถแต่ง ฮอนด้า PCX 160 125
bulletรถแต่ง ฮอนด้า GROM
bulletรถแต่ง ฮอนด้า CT125
bulletรถแต่ง ฮอนด้า ADV 150
bulletรถแต่ง ฮอนด้า Super Cub
bulletรถแต่ง ฮอนด้า MSX125
bulletรถแต่ง ฮอนด้า FORZA 300
bulletรถแต่ง ฮอนด้า สกู๊ปปี้ไอ
bulletรถแต่ง ฮอนด้า คลิ๊กไอ
bulletรถแต่ง ฮอนด้า ซีแซดไอ
bulletรถแต่ง ฮอนด้า ไอคอน
bulletรถแต่ง ฮอนด้า แอร์เบลด
bulletรถแต่ง ฮอนด้า คลิ๊ก
bulletรถแต่ง ฮอนด้า เวฟ
bulletรถแต่ง ฮอนด้า โซนิค
bulletรถแต่ง Transformers
bulletรถแต่ง มอเตอร์โชว์ 49 - 50
bulletHONDA Bigbike
bulletHONDA Racing ตกแต่ง
dot
อะไหล่แท้ ตกแต่ง ฮอนด้า
dot
bulletHONDA PROTECH ULTRA
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง FORZA 350
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง GIORNO+
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CL 300
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง H2C 10 ปี
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CLICK 160 i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง LEAD 125
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง PCX 150 160
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CRF300L
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง SCOOPY
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง MSX GROM
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง Super Cub
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง ADV 150
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CB150F
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง Rebel 300
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง Zoomer X
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CLICK125i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง MOOVE
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง Sh150i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง สกู๊ปปี้ 2012
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง SPACY i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง WAVE125i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง DREAM110i
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง CBR
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง สกู๊ปปี้ ไอ
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง คลิ๊ก ไอ
bulletอุปกรณ์ ตกแต่ง แอร์เบลด
bulletหมวกกันน็อค Helmet
bulletเลือก ตกแต่ง สไตส์คุณ
dot
คอลเลคชั่น ฮอนด้า
dot
bulletคอลเลคชั่น ฮอนด้า 2020
bulletมอเตอร์ไซค์จำลอง 1:18
bulletคอลเลคชั่น CBR150R-250R
bulletASIMO อาซิโม ฮอนด้า
dot
ตัวแทนจำหน่าย
dot
bulletโช้ค YSS Suspension
bulletล้อแม็กซ์ ไดอิจิ
bulletฮักเกอร์ HUGGER
dot
ข่าวสำคัญ ฮอนด้า
dot
bulletฮอนด้าคลับ Honda Club
bulletClip VDO Honda
bulletข่าวสาร จักรยานยนต์
bulletลุ้นโชคกับ ฮอนด้า
bulletตรวจสอบ ไปรษณีย์ EMS
bulletรวมลิงค์ + พันธมิตรลิงค์
bulletแลกลิงค์ พันธมิตร


ตรวจสอบ ราคาอะไหล่รถจักรยานยนต์ฮอนด้า ทุกรุ่น
ลงทะเบียนรับประกันคุณภาพ HONDA
คำนวณ ค่างวด เงินผ่อน ดอกเบี้ย
วีดีโอ รถจักรยานยนต์ ฮอนด้า Video Motorcycle HONDA


ความรู้ โช้คอัพ ( Shock Absorber )

        นับเป็นเวลายาวนานที่รถจักรยานยนต์ อยู่คู่กับผู้บริโภคชาวไทย และร่วมเส้นทางไปในสถานที่ต่างๆ บนท้องถนนของเมืองไทย
ที่แสนจะสะดวกสบายเต็มไปด้วยหลุมและบ่อ  โดยเฉพาะฝาท่อที่โผล่อยู่กลางถนน  รถมอเตอร์ไซค์เมืองไทยจึงถูกออกแบบ
ให้สามารถเอาตัวรอดได้ ในระดับหนึ่ง  ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา กระแสการปรับแต่งรถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อรองรับการทำงานในลักษณะๆต่างๆได้ดียิ่งขึ้น กับอีกทางหนึ่งคือการตกแต่งเพื่อความเท่ ความหล่อบนท้องถนน จนกระทั่งบางคน
อาจจะไม่เคยรู้ความแตกต่างของโช้คแต่ละแบบเลย วันนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะนำความรู้เกี่ยวกับระบบกันสะเทือนมาฝากกันครับ

โช้คอัพ มาจากคำว่า Shock Absorber  (ช็อค-อัพซอร์เบอร์)
เป็นตัวช่วยหน่วงเวลาไม่ให้สปริงมีการเคลื่อนตัวเร็วเกินไป แต่อย่าเข้าใจผิดว่าใช้โช้คอัพรองรับน้ำหนักนะครับ
ผู้ขับขี่รถบางคนอาจจะเข้าใจกันว่าโช้คมีไว้รองรับน้ำหนักรถ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์เลยครับ จริงๆแล้ว
ตัวรับน้ำหนักและแรงกระเทกทั้งปวงคือสปริง แต่ในทางกลับกันถ้ารถคุณมีแต่สปริง พอเจอถนนขรุขระและหลุมบ่อ
รถคุณก็จะเด้งขึ้นเด้งลงตามค่า K ของสปริงกันจนมึนไปเลย Shock Absorber  จึงถูกออกแบบขึ้นมา
เพื่อหน่วงไม่ใช้สปริงมีการเคลื่อนตัวได้เร็วนัก ในกรณีเวลาที่คุณต้องการเลือกโช้คอัพมาใส่รถต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า
คุณต้องได้อย่างเสียอย่างเสมอ ถ้ารถคุณอยากได้โช้คนิ่ม มันจะหน่วงสปริงได้น้อย นั่งแล้วนิ่มตูดขึ้น แต่เวลาเข้าโค้งที่มีความเร็ว
ถึงในระดับหนึ่งรถก็จะออกอาการ “ย้วย” ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของโช้คแบบผิดที่ผิดเวลานั่นเอง  ซึ่งนั่นเกิดจากแรงเหวี่ยง
จากศูนย์กลางมันมากดโช้ค  แต่ถ้าในกรณีที่คุณเลือกโช้คหนึบในโค้งความนิ่มก็จะหายไปรวมทั้งบนทางตรง เนื่องจากสปริง
จะเคลื่อนที่ได้น้อยมาก แต่เวลาเข้าโค้ง หรือขับซิกแซก รุถคุณนิ่งอย่างแรงครับเพราะน้ำหนักกดลงไปถึงพื้นมีความสม่ำเสมอ 
โช้คอัพ เดิมทีคือการใช้น้ำมันในการหน่วงการทำงานของกลไก โดยน้ำมันนี้ จะบรรจุอยู่ในกระบอกโช้คเต็มกระบอก
แท่งแกนโช้ค ( Piston rod ) ถูกสอดลงไปในกระบอก มีก้อนวาล์ว (Piston valve) อยู่ตรงปลาย
หลักการของมันคือ รูวาวล์จะต้านแรงดันน้ำมันในเวลารับแรงกดและแรงยืดกลับ  เวลาจังหวะโช้คยืดตัวขึ้น น้ำมันจากห้องบน
จะต้องถูกดันให้หนีลงมาห้องล่าง แต่วาล์วที่กั้นห้องนั้น มีรูและซอกเล็กมากให้น้ำมันผ่านได้จำกัดมาก ทำให้น้ำมันผ่านได้ช้าลง
ผลก็คือเกิดการหน่วงไม่ให้ก้านสูบเลื่อนขึ้นเร็วเกินไป ในจังหวะโช้คกดตัวลงก็เช่นกันครับ น้ำมันจากห้องล่างจะพยายาม
หนีขึ้นห้องบนเพราะโดนดัน วาล์วก็เป็นตัวหน่วงอีกเช่นกัน การไหลผ่านร่องวาล์วเล็กๆในกระบอกสูบ หนืดไม่หนืด
ขึ้นอยู่กับขนาดวาล์วและการออกแบบ    ช่องทางเดินน้ำมันในวาล์วให้ใกล้เคียงกับความต้องการการใช้งานมากที่สุด
 
ลักษณะพิเศษของโช้คแก้ส
โช้คแก้ส มันคือการขึ้นพัฒนาจากโช้คที่มีองค์ประกอบที่มีอยู่แล้ว มาสร้างห้องพิเศษไว้ห้องหนึ่งแล้วอัดแก้สไนโตรเจนลงไป
มีจุดประสงค์หลักคือทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้น ฟองอากาศที่จะเกิดในน้ำมันซึ่งเป็นปัญหาเดิมจะลดลง เนื่องจากเวลาโช้คทำงานปกติบนถนน
โช้คมีการขยับขึ้นลงมากกว่า 10 ครั้งต่อวินาทีพร้อมกับความร้อนซึ่งเกิดจากการเสียดสีเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำมันเกิดฟองอากาศ
ประเด็นสำคัญ สิ่งที่เรียกว่าโช้คน้ำมันกึ่งแก้สนั้นหลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นการอัดเฉพาะแก้สเข้าไปเต็มๆ  นั่นเป็นความเข้าใจผิดครับ
โช้คแก้ส ก็ยังใช้น้ำมันในการไหลผ่านวาล์วเหมือนเดิม แก้สไม่เกี่ยวเลยแต่แรงดันจากแก้สนี้จะสร้างแรงดันซึ่งมีผลไปสู่ฟองอากาศ
ให้ลอยตัวเร็วมากขึ้นไม่เข้ามาพัวพันอยู่กับแกน และซีลโช้ค ซึ่งเป็นตัวการที่เกิดการสะดุดขณะที่โช้คทำงาน
ดังนั้น ขอให้เข้าใจกันใหม่ด้วยนะครับ ว่าโช้คนั้นมีแค่เป็นน้ำมันล้วน กับแบบเอาแก้สมาอัดช่วยดันห้องล่าง แค่นั้น โช้คแก้สเปล่าๆ
ไม่มีแน่นอนครับ  ในการออกแบบ้องแยกแก้สนั้น ในอดีต มีถูกออกแบบให้เป็นเหมือนกับเสื้อสูบซึ่งมีลูกสูบหรือจะเรียกว่าผนังกั้น
ก็ไม่น่าจะผิด เป็นตัวกั้นระหว่างแก็สกับน้ำมัน มันจะทำงานรับแรงดันขึ้นลงเหมือนลูกสูบ ซึ่งลักษณะแบบนี้ จะเกิดความร้อนสะสม
ในตัวกระบอก ผู้ผลิตรุ่นใหม่จึงหันมาพัฒนาห้องแยกแก้สใหม่ ด้วยวัสดุยางสังเคราะห์เนื้อพิเศษ ซึ่งทำงานคล้ายๆกับเตียงน้ำ
ไม่มีการเสียดสีกับวัตถุอื่นจึงไม่เกิดความร้อนจึงทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่า
 
ข้อสังเกตุสำคัญว่าโช้คของคุณเป็นน้ำมันหรือแก้ส
ก็สามารถทำได้ไม่ยาก  เริ่มจาการถอดสปริงออกจากโช้ค แล้วลองวางตั้งกับพื้นนะครับ เอามือกดโช้คลงไปจนสุด แล้วปล่อย
ถ้าเป็นโช้คน้ำมัน มันจะจมอยู่เช่นนั้น แต่ถ้าเป็นโช้คที่มีแก้สอยู่ด้วย มันจะค่อยๆยืดขึ้นมาเองช้าๆจนสุด สาเหตุที่เป็นอย่างนี้
เพราะมีห้องแก้สอยู่ช่วยดันให้น้ำมันในห้องล่างดันลูกสูบขึ้นไปในตำแหน่งปกติ

ความหนืดในกระบอกโช้ค
ความหนืดของโช้คอัพ จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับการออกแบบวาล์วที่ลูกสูบเท่านั้น อยู่ที่ว่าโช้คตัวนั้นจะถูกปรับเซ็ทค่าโช้คมาพอดี
และลงตัวแค่ไหน ไม่จำเป็นว่าต้องมีออฟชั่นมากแค่ไหน ถ้าคุณเปลี่ยนโช้คไปเป็นแก้ส ก็มั่นใจได้อย่าง ว่ามันแข็งขึ้นแหงๆครับ
ถ้าวาล์วถูกออกแบบมาเหมือนกัน แต่ในทางกลับกันคือ เมื่อโช้คแก้สถูกใช้ในการทำงานประเภทที่ต้องโดนเค้นประสิทธิภาพสุดๆ
มันจะคงความเสถียรมากกว่า  ซึ่งหมายถึงมันคงสภาพการใช้งานหนักเป็นเวลานานนั่นเอง  และเมื่อถึงกรณีนี้
จึงมีตัวช่วยของโช้คอัพเสริมขึ้นมา อย่างที่นักเลงขาซิ่งมอเตอร์ไซค์เขาเรียกกันว่า “ตัวปรับหนืด” (Rebound Adjuster)
ซึ่งเจ้าตัวนี้จะทำงานโดยการปรับรูทางผ่านของน้ำมันใน  Piston Valve  ทำให้จากเดิมเป็นถนนสามเลน
มีไฟกิ่งส่องสว่างไสว โดนบีบเหลืออยู่เลนเดียวเปิดไฟสลับดวง  ผลก็คือ การจราจรย่อมเดินทางยากขึ้น 
อุปกรณ์นี้ จะถูกเสริมเมื่อผู้ขั่บขี่ต้องการความเที่ยงตรงให้เหมาะสมกับการงานมากที่สุด เช่นเดียวกับสปริง
ที่จะมีตัว “สตรัทปรับเกลียว” (Spring preload Adjuster) ซึ่งจะช่วยในการหาความแข็งของปริง
ที่จะรับกับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างเหมาะสม
 
ปัญหาที่เกิดกับโช้คอัพ
ปัญหาของโช้คอัพ มีเรื่องสำคัญๆอยู่เรื่องเดียว คือน้ำมันรั่วออกมาจากซีลโช้ค (Seal Block) ทำให้โช้คอัพสูญเสียน้ำมัน
ไปเรื่อยๆ ซึ่งก็จะทำให้มันสูญเสียความสามารถในการหน่วงไป ทำให้รถคุณวิ่งเหมือนเด้งอยู่บนสปริง ถ้าเป็นไม่มาก
ซึ่งพวกนักแข่งในสนามแข่ง เขาไม่มาก้มมุดดูโช้คให้เสียเวลา เพียงแค่เช็คดูที่หน้ายางดูก็รู้ได้แล้วครับ ถ้าสึกเป็นบั้งๆในแนวขวาง
ก็สามารถฟันธงได้แล้วว่ารถคุณมีปัญหากะโช้คอัพแล้วล่ะ

สาเหตุสำคัญที่น้ำมันจะรั่ว
ก็มาจากซีลยาง ซีลยางนี้ มีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาอยู่แล้ว ตามระยะของผู้ผลิตโช้ค คุณควรเปลี่ยนโช้คอัพ
เมื่อรถวิ่งไปได้ในระยะทาง 100,000 กิโล หรือห้าปี โดยไม่ต้องรอให้รั่ว เพราะซีลมันเสื่อมแล้ว ถ้ารถคุณไม่ค่อยได้ใช้เลย
ซีลยางคุณจะยิ่งแย่กว่าปกติ เพราะทุกครั้งที่โช้คขึ้นลง ก้านแกนโช้คจะนำเอาน้ำมันออกมาเล็กน้อยด้วยช่วยหล่อลื่นซีลครับ
ถ้าคุณไม่ใช้รถเลย จอดไว้เป็นอาทิตย์เฉยๆ ซีลจะแข็งและเสื่อมสภาพและฉีกง่ายมากๆ ปัญหาโช้ครั่วก็จะตามมาแน่นอนครับ

การติดตั้งโช้ค
เวลาติดตั้งโช้ค อย่าลืมเตือนช่างหรือแม้แต่คุณเองไม่ให้ใช้คีมในการจับแกนโช้คตอนขันน้อตหรือแม้แต่กรณีใดก็ตามครับ
เพราะมันจะทำให้แกนโช้คเป็นรอย ซึ่งเมื่อคุณเอารถไปขี่ รอยนี้มันจะไปเสียดสีให้ซีลยางมันขาด ซึ่งก็จะนำมาซึ่งการรั่วตามมา
ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นเวลาเจอโช้ครั่วเร็ว บางทีก็อย่าโทษแต่ผู้ผลิตโช้คล่ะครับ มันมีปัจจัยอื่นๆอีกเพียบเลยตัวอย่างเช่น
ตอนขันน้อต ถ้าคุณขันแน่นเกินไปหรือองศาไม่ตรงกับจุดยึด พอเจอน้ำหนักกดปุ๊บโช็คก็จองอปั๊ปเลยครับ  
เพราะเมื่อโช้คท่านงอ เวลาเอาไปวิ่ง มันก็ไปขูดซีลยางอีกน่ะแหละ (แหม ไอ้ซีลยางนี่ช่างเจ้าปัญหาซะจริงเลยนะ)

ข้อคำนึงเกี่ยวกับโช้คอัพ
๑.คุณควรเปลี่ยนทั้งสองข้างพร้อมกัน
๒.คุณควรเปลี่ยนให้ได้ตามรุ่นที่ผู้ผลิตโช้คทำมาเพื่อรถรุ่นนั้นๆ ไม่ควรดัดแปลง เพราะคุณไม่มีทางรู้
     ค่าความแข็งของสปริงที่เหมาะสมแน่นอนครับ เพราะหากเป็นมาตรฐานของโรงงานผลิตโช้คที่ลงทุนกันเป็นล้าน
     พัฒนาและวิจัยกันเกือบตายกว่าจะออกมาให้รถแต่ละรุ่น 
๓.หมั่นก้มดูโช้คบ่อยๆครับ ว่ามีคราบน้ำมันรั่วหรือไม่
๔.เรื่องของระบบกันสะเทือนมาตรฐานเยอรมัน ถือเป็นชินส่วนสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยเทียบเท่ากับระบบเบรคเลยทีเดียว
    คุณควรใส่ใจกับมันให้มาก อย่าเห็นแก่ของถูก หรือเงินเพียงเล็กน้อยครับ

คนไทยเรา ยังมีอุปนิสัยไม่สนใจโช้คอัพ ไม่รั่ว ไม่มีวันเปลี่ยน จริงๆแล้ว คุณควรเปลี่ยนมันเมื่อวิ่งไปได้ 100,000 กิโล หรือห้าปี
ครับ เพราะซีลยางมันออกแบบมาให้มีอายุแค่นั้น ถามว่า “โช้คไม่ดี ไม่เห็นเป็นไร ไม่เปลี่ยนไม่ได้เหรอ ขับมาสิบปีแล้ว
ไม่เห็นเคยเปลี่ยนสักครั้ง” ตอบเลยนะครับ ว่าถ้าคุณวิ่งปกติดี มันก็แล้วไปครับ แต่ถ้าคุณไปเจอสถานการณ์คับขัน
เบรคกะทันหัน เมื่อถึงเวลานั้น คุณจะเข้าใจว่า โช้คนั้นสำคัญกับการทรงตัวของรถขนาดไหน  เปลี่ยนทัศนคติกันใหม่นะครับ
อย่างที่เยอรมัน เค้าบอกว่า "Shock Absorber condition cannot be compromised."
 

ขอขอบคุณที่มา : http://www.mocyc.com



หน้า 1/1
1
[Go to top]



สงวนลิขสิทธิ์ © 2022 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญมอเตอร์(วิเชียรบุรี) www.jrmotor.com
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญมอเตอร์(วิเชียรบุรี) สำนักงานใหญ่
เลขที่ 16 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ 67130
โทรศัพท์ 056-754455 โทรสาร 056-754466 มือถือ 086-4501732 , 061-8303132
E-mail : jrmotor@gmail.com วันเวลาทำการ จันทร์ - เสาร์ เวลา 8.00 น. - 17.00 น.

เงื่อนไขการใช้บริการ I รับเรื่องร้องเรียน I นโยบายความเป็นส่วนตัว